002  วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 09.00 น. นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 5 เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานการวิจัยการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย โดยมี น.สพ.ศราวุธ เขียวศรี ผู้อำนวยการส่วนสุขภาพสัตว์ นายสัตวแพทย์ส่วนสุขภาพสัตว์ และนายสัตวแพทย์หน่วยพัฒนาสุขภาพและผลผลิตสัตว์(HHU) หน่วยป่าตึง เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ สัตวแพทย์หญิง ดร. กิ่งกานต์ บุญสุยา สีโย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รายงานผลการปฏิบัติงานวิจัยภายโครงการวิจัย “The Project for the Acceleration of Livestock Revolution in Thailand aiming to be the Kitchen of the World through the Development of Novel Technologies for Stable Livestock Production and Food Safety” ภายใต้ความร่วมมือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development หรือ SATREPS) ระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการใช้ชุดตรวจสอบโรคปากและเท้าเปื่อยในพื้นที่ที่ตรวจพบอาการของโรคปากและเท้าเปื่อย โดยการดำเนินงานร่วมกับ Dr. Matsui yuto, DVM. A specially appointed assistant professor, Center For Animal Disease Control, Miyazaki University และ Dr. Anzai Masahiko, DVM. JICA project coordinator การปฏิบัติงานวิจัยดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำพูน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ และสหกรณ์โคนมในพื้นที่เป้าหมาย ในการคัดเลือกฟาร์มและพื้นที่เป้าหมายสำหรับการวิจัยดังกล่าว

โครงการวิจัยฯ ดังกล่าว กรมปศุสัตว์ระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นได้ทำข้อตกลงทางวิชาการภายใต้ความร่วมมือวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Science and Technology Research Partnership for Sustainable Development หรือ SATREPS) ระหว่างฝ่ายไทยและญี่ปุ่นโดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคปากและเท้าเปื่อย เพื่อการพัฒนาชุดตรวจในระดับพื้นที่ อันส่งผลดีต่อเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและเกษตรกรในระดับพื้นที่ สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว นายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 5 ได้กล่าวในที่ประชุมโดยขอขอบคุณคณะทำงานที่เลือกพื้นที่ปศุสัตว์เขต 5 เป็นพื้นที่ปฏิบัติงานด้านวิจัย ทำให้เกิดความร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างหน่วยงาน เช่น งานด้านระบาดวิทยา เป็นต้น โดยสำนักงานปศุสัตว์เขต 5 ได้มีนโยบายและการสนับสนุนมาตรการต่างๆ ในการดำเนินงานระดับพื้นที่ มีเป้าหมายเพื่อทำให้เป็นพื้นที่ปลอดโรคโรคปากและเท้าเปื่อยโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโคนมหนาแน่น เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และเชียงราย ในอนาคตต่อไป

 

 

 

 

ภาพ/ข่าว : สำนักงานปศุสัตว์เขต 5