boss 64 1

นายสุรพล  ธัญญเจริญ
ปศุสัตว์เขต 5


รางวัลแห่งความภูมิใจ

ไอคอนลิงค์

ภาพข่าวกิจกรรม

bannerskai2564

แบบสอบถามผู้รับบริการ

        QRCode for 2567 1            bannerskai2564

 

 

picsummary65 survey

ข้อมูลประชาสัมพันธ์

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

สำหรับเจ้าหน้าที่

สถิติผู้เข้าชม

1131126
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
733
1214
3357
1118997
30241
32849
1131126

Your IP: 18.191.216.163
2024-04-24 13:13

กำลังออนไลน์

มี 209 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์

สถิติผู้เข้าชม (Truehits)

019      วันที่ 29 - 31 สิงหาคม 2565 นายชุมพล บุญรอด ปศุสัตว์เขต 5 มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนส่งเสริม และพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์, ปศุสัตว์อำเภอสอง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดแพร่ , เจ้าหน้าที่กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์, ปศุสัตว์อำเภอบ่อเกลือ และเจ้าหน้าที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการหลวง สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน ติดตามผลการดำเนินงานส่งเสริมปศุสัตว์ดังนี้

  1. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ด้านปศุสัตว์ (ศพก.) , ในพื้นที่ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ซึ่งมีนายนริศ เกยงค์ (เกยงค์ฟาร์ม) เป็นฟาร์มสัตว์ปีกหลายชนิด ประมาณ 200 - 300 ตัว มีการจำหน่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ชนิดสัตว์ปีกที่ผลิตจำหน่ายได้แก่ ไก่ประดู่หางดำ ไก่กระดูกดำ ไก่เบตง ไก่งวง ไก่ไข่ เป็ดไข่ เป็ดอี้เหลียง นกระทา เป็นต้น โดยไก่งวงมีตลาดรับซื้อจากพ่อค่าจังหวัดลำพูน ประกันราคารับซื้อที่ 120-150 บาท ตามความต้องการของตลาด และได้มีการใช้ตู้ฟักไข่จำน่วย 3 ตู้ มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 200 ตัวต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ได้มีการใช้แหนแดงมาเสริมให้กินเพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต
  2. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเกษตร ต. แดนชุมพล อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรที่มีการผลิตแปรรูปอาหารปลอดภัย เดิมแปรรูปเป็นแหนมหมู เพื่อบริโภคในครัวเรือน ต่อมาเกิดแนวคิดอยากมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงรวมกลุ่มสตรีในหมู่บ้านผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องที่หลากหลายเน้นคุณภาพ ใช้วัตถุดิบในชุมชนที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคเป็นสำคัญ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้แก่ แคบหมู หมูสวรรค์ หมูฝอย น้ำพริกน้ำย้อย เป็นต้น
  3. โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ด้านปศุสัตว์ (ศพก.) และโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ อำเภอ บ่อเกลือ จังหวัดน่าน น่าน โดยมีนายกมล สุยะ เป็นเจ้าของศูนย์ ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ต้นแบบ ในการดำเนินงานด้านปศุสัตว์ ของอำเภอบ่อเกลือ มีการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน ได้แก่ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่ และโคเนื้อ มีแปลงหญ้าของตัวเองและมีการนำวัสดุในท้องถิ่นหมักเลี้ยงสัตว์
  4. โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ เป็นหน่วยงานที่พื้นที่ที่บูรณาการร่วม
  5. โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
      5.1. โรงเรียนบ้านผักเฮือก ซึ่งมีนักเรียนจากโรงเรียนนาขวาง นากอก นาคอก มาเรียนรวมกัน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน น่าน เขต 2 (สพฐ.) มีนักเรียน 160 คน ในปี งบประมาณ 2565 สนับสนุนไก่พื้นเมือง จำนวน 100 ตัว เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารโปรตีน จำหน่ายในชุมชน และคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ไว้ขยายพันธุ์ต่อไป ในปีงบประมาณ 2566 จะสนับสนุนเป็นไก่ไข่ เพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวันต่อไป ซึ่งนักเรียนได้มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมด้านปศุสัตว์ด้วยความสมัครใจ สามารถนำไปประกอบอาชีพต่อไปได้
      5.2. โรงเรียนบ้านสบมาง มีนักเรียน 230 คน ให้การสนับสนุนไก่ไข่ จำนวน 100 ตัว เพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวัน ปัจจุบันอยู่ในช่วงทยอยปลด เหลือไก่ไข่ จำนวน 43 ตัว ได้ไข่ประมาณวัน ละ 30 ฟอง นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนไก่พื้นเมืองลูกผสมจากกองพันทหารพัฒนา จำนวน 50 ตัว เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนในโรงเรียน
  6. ศูนย์ผลิตและกระจายพันธุ์สัตว์โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นศูนย์ผลิตและกระจายพันธุ์ ซึ่งมี ไก่ลูกผสมพื้นเมือง (แม่ไก่โร๊ด –พ่อไก่ลัวะ) จำนวน 200 ตัว และในเดือนกันยายน 2565 จะรับไก่ไข่โร๊ดกรมปศุสัตว์มาจำนวน 200 ตัว มีแผนขยายให้ชุมชนในตำบล 250 ราย จำนวน 5,000 ตัว และมีสุกร วิจัย จำนวน 21 ตัว ซึ่งมีแผนจะขยายพันธุ์ในชุมชนต่อไป
  7. เข้าร่วมกิจกรรมประกวดโคแดงพันธุ์พื้นเมืองน่าน ซึ่งศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน ดำเนินการจัดประกวดโคแดงพื้นเมืองน่าน ปี 2565 ชิงถ้วยและเงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตร โดยมี นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานมอบรางวัลการประกวด โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์โคแดงพื้นเมืองน่านให้อยู่คู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เป็นการเพิ่มมูลค่าของโคแดงกระตุ้นความสนใจของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์โคแดงพื้นเมืองน่านและเผยแพร่ข้อมูลคุณลักษณะประจำพันธุ์ของโคพื้นเมืองน่าน ร่วมถึง ได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์กระบือน้ำว้า ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้ขึ้นทะเบียนรับรองพันธุ์เป็นสัตว์พื้นเมืองประจำถิ่นของจังหวัดน่านแล้ว ปัจจุบันศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ฯ เลี้ยงโคแดงพื้นเมืองน่านในพื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ โครุ่นและลูกโคจำนวน 101 ตัว และมีการสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงโค จำนวน 6 กลุ่ม ในจังหวัดน่าน ปัจจุบันมีประชากรโคแดงในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคแดงน่าน จำนวน 270 ตัว

 

 

ภาพ/ข่าว : ส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์สำนักงานปศุสัตว์เขต 5